วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2552

เรารักประเทศไทย

แนะนำสุโขทัย

สุโขทัยเมืองสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่มีทั้ง ศรีสัชนาลัย และ เมืองเก่าสุโขทัย ในฐานะที่เคยเป็นศุนย์กลางความเจริญของอาณาจักรสุโขทัยเห็นได้อย่างชัดเจนจากอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยและอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ตราบทุกวันนี้ศรีสัชนาลัยและเมืองเก่า ยังคงเป็นศูนย์รวมการค้าและการท่องเทียวที่นำรายได้หลั่งไหลเข้าสู่ท้องถินมหาศาล
แดนดินราชธานีไทยในอดีตแห่งนี้ มีแหล่งโบราณสถานโบราณวัตถุอันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมหลากหลาย หนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจนั้นต้องยกให้ “อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย” โบราณสถานที่ยูเนสโกจัดให้เป็นเมืองมรดกโลก อยู่ห่างจาก อ.ศรีสัชนาลัย ลงมาทาง อ.สวรรคโลก 11 กิโลเมตร อยู่ในเขตหมู่บ้านพระปรางค์ ต.ศรีสัชนาลัย หากเดินทางไปจาก อ.เมืองฯ ต้องใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง บริเวณที่ตั้งของอุทยานฯ เรียกว่า “แก่งหลวง” แต่โบราณศรีสัชนาลัยชื่อ “เมืองเชลียง” แต่เมื่อกรุงสุโขทัยได้รับสถาปนาเป็นเมืองหลวง ได้มีการสร้างเมืองใหม่ขื้นมาชื่อ “ศรีสัชนาลัย” ให้เป็นเมืองลูกหลวงของสุโขทัยและเป็นเมืองศูนย์กลางการปกครองแทนเมืองเชลียง
ต่อมาเมื่อกรุงศรีอยุธยาขยายอำนาจขึ้นครองหัวเมืองทางเหนือ จึงเปลี่ยนชื่อเมืองศรีสัชนาลัยเสียใหม่ว่าเมืองสวรรคโลก ภายหลังจึงได้สถานะเป็นอำเภอของสุโขทัย




ลอยกระทงสุโขทัย




งานประเพณเผาเทียนเล่นไฟ

งานลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟเป็นงานประเพณีที่จังหวัดจัดขึ้นในวันเพ็ญเดือนสิบสองของทุกปี ณ บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์ ลักษณะของงานประกอบด้วยการลอยกระทงจุดประทีปโคมไฟ จุดตะไลไฟพะเนียง การละเล่นพื้นบ้าน ขบวนแห่ต่างๆ และระบำโบราณคดีชุดสุโขทัย แสดงออกถึงวิถีชีวิตของชาวสุโขทัยตามศิลาจารึก ในบรรยากาศและ สิ่งแวดล้อมของโบราณสถานในบริเวณ เมืองเก่าสุโขทัย นอกจากนี้ยังมีการแสดงแสงเสียง เกี่ยวกับประวัติศาสตร์อันรุ่งเรืองของอาณาจักร

สุโขทัยงานประเพณีลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย จัดให้มีขบวนแห่พนมหมาก พนมดอกไม้ ขบวนแห่กระทง และมีขบวนต่างๆ โดยมีนางนพมาศนั่งมากับกระทง และมีสาวๆ ที่ถือพนมหมาก พนมดอกไม้ นั่งร่วมอยู่ด้วย พนมหมาก และพนมดอกไม้นี้นำไปสักการะพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ณ อนุสาวรีย์ของพระองค์ที่ประดิษฐานอยู่ในใจกลางเมืองเก่าสุโขทัย เมื่อการบวงสรวงพ่อขุนเสร็จแล้ว ผู้คนและนักท่องเที่ยวจะทยอยเข้ามาในเขตเมืองเก่า แล้วการลอยกระทงตามตระพังต่างๆ ก็เริ่มขึ้น แสงไฟจากการลอยกระทงก็จะสว่างไสวท่ามกลางบรรยากาศเย็นสบาย จึงเป็นที่พึงใจแก่ผู้เข้าร่วมงานอย่างยิ่ง

วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2552

ลักษณะของการผสมพันธ์ของปลากัด

ปลากัดสวยงาม


การเลียงปลากัดสี
ปลากัดเป็นปลาสวยงามอีกชนิดหนึ่ง ที่มีผู้นิยมเลี้ยงกันมานานแล้ว จนมีการพัฒนาพันธุ์ให้มีหลากหลายสี เป็นที่ต้องการของตลาด การเพาะพันธุ์ปลากัดเริ่มแรกจะต้องเลือกพ่อแม่ปลาที่มีอายุ ตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป มีความสมบูรณ์เต็มที่
โดยจะสังเกตได้จากตัวผู้เมื่อนำ มาเทียบกับตัวเมียจะว่ายน้ำได้อย่างคล่องแคล่วและก่อหวอดขึ้น ส่วนตัวเมียที่บริเวณท้องจะมีลักษณะอูมบวมเพราะมีไข่อยู่ เมื่อได้พ่อแม่ปลาที่มีความสมบูรณ์แล้ว ก็นำมาแยกใส่ขวด โหล ตั้งไว้ติดกันเพื่อให้ตัวเมียไข่สุกเร็วขึ้นซึ่งฤดูกาลควรจะเริ่มในช่วง เดือนพฤษภาคม-กันยายน เพราะถ้าเป็นช่วงฤดูหนาวปลาจะไม่ค่อยผสมพันธุ์กัน เมื่อเทียบปลาไปได้
ประมาณ 2 อาทิตย์ ก็นำใส่ลงในบ่อปูนหรือกะละมัง ก็ได้ โดยให้มีระดับน้ำพอเหมาะ และควรใส่ไม้น้ำลงไปเพื่อให้พ่อปลาก่อหวอดหลังจากนั้น 2 วัน พ่อปลาจะเริ่มก่อหวอดและคลี่ครีบไล่ต้อน ตัวเมียให้ไปอยู่ใต้หวอดเพื่อรัดท้องแม่ปลารีดไข่ให้ออกมาแล้วฉีดน้ำเชื้อลงในไข่ และไข่จะจมลงไปสู่พื้นบ่อ พ่อปลาจะว่ายไปอมไข่มาไว้ที่หวอด เมื่อแม่ปลาวางไข่หมดแล้วให้นำออกจากบ่อป้องกันไม่ให้กินไข่ แล้วปล่อยให้พ่อปลาดูแลไข่ประมาณ 2 วัน จึงนำออกจากบ่อเพาะเช่นเดียวกัน ไข่ปลาจะเริ่มฟักออกเป็นตัวภายในเวลา 36 ชั่วโมง แล้วจะเกาะอาศัยอยู่ที่หวอด ในระยะ 3-4 วันแรกยังไม่ต้องให้อาหารเพราะลูกปลามีถุงอาหารติดอยู่หลังจากที่ฝักออกมา เมื่อถุงอาหารยุบแล้วก็เริ่ม ให้อาหารเป็นไข่แดงต้มสุกละลายน้ำ กรองผ่านกระชอนตาถี่วันละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 3 - 5 วันจึงเปลี่ยนไปให้ไรแดงขนาดเล็กแทน จนกระทั่งปลากินลูกน้ำได้ ซึ่งจะสามารถแยกเพศเมื่อปลาได้อายุ 45 วันขึ้นไป และเมื่อปลาเริ่มกัดกันจึงค่อยแยกใส่ขวดโหลขวดละตัว ปลากัดตัวผู้จะมีสีสันและความสวยงามมากกว่าปลากัดตัวเมีย แต่ปลากัดตัวผู้นั้นจะมีนิสัยก้าวร้าวมากกว่าปลากัดตัวเมีย

วันอังคารที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ขั้นตอนการตัดสินใจ

ขั้นตอนการตัดสินใจ สามารถแบ่งออกได้เป็นดังนี้ คือ

ขั้นที่ 1 การระบุปัญหา(Define problem) เป็นขั้นตอนแรกที่มีความสำคัญอย่างมาก เพราะจะต้องระบุ ปัญหาได้ถูกต้อง จึงจะดำเนินการตัดสินใจในขั้นตอนต่อๆ ไปได้

ขั้นที่ 2 การระบุข้อจำกัดของปัจจัย(Identify limiting factors) เป็นการระบุปัญหาได้ถูกต้องแล้ว นำไปพิจารณาถึงข้อจำกัดต่างๆ ขององค์กร โดยพิจารณาจากทรัพยากรซึ่งเป็นองค์ประกอบของกระบวนการผลิต

ขั้นที่ 3 การพัฒนาทางเลือก(Development alternative) ขั้นตอนที่ผู้บริหารต้องพัฒนาทางเลือกต่างๆขึ้นมาซึ่งทางเลือกเหล่านี้ควรเป็นทางเลือกที่มีศักยภาพและมีความเป็นไปได้ ในการแก้ปัญหาให้น้อยลงหรืให้ประโยชน์สูงสุด เช่น เพิ่มการทำงานกะพิเศษ เพิ่มการทำงานล่วงเวลาโดยใช้ตารางปกติ เพิ่มจำนวนพนักงาน

ขั้นที่ 4 การวิเคราะห์ทางเลือก(Analysis the altematives) เมื่อได้ทำการพัฒนาทางเลือกต่างๆ โดยนำเอาข้อดีข้อเสียของแต่ละทางเลือกมาเปรียบเทียบกันอย่างรอบคอบ ควรพิจารณาว่าทางเลือกนั้นนำมาใช้ จะเกิดผลต่อเนื่องอะไรตามมา

ขั้นที่ 5 การเลือกทางเลือกที่ดีที่สุด(Select the best alternative) เมื่อผู้บริหารได้ทำการวิเคราะห์ และประเมินทางเลือกต่างๆ แล้ว ผู้บริหารควรเปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของแต่ละทางเลือกอีกครั้งหนึ่งเพื่อพิจารณาว่าทางเลือกที่ดีที่สุดเพียงทางเดียว

ขั้นที่ 6 การนำผลการตัดสินใจไปปฏิบัติ(Implernent the decision) เมื่อผู้บริหารได้หาทางเลือกที่ดีที่สุดแล้ว ก็ควรมีการนำผลการตัดสินใจนั้นไปปฏิบัติ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ขั้นที่ 7 การสร้างระบบควบคุมและประเมินผล(Establish a control and evaluation system) เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการตัดสินใจ ได้แก่การสร้างระบบการควบคุมและประเมินผลซึ่งจะช่วยให้ผู้บริหารได้รับข้อมูลย้อนกลับที่เกี่ยวกับผลการปฏิบัติงานว่าเป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่ ข้อมูลย้อนกลับจะช่วยให้ผู้บริหารแก้ปัญหาหรือทำการตัดสินใจใหม่ได้

แหล่งอ้างอิงhttp://www.novabizz.com/NovaAce/Behavior/Decision_Making.htm